วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555



โครงการสอน
รหัสวิชา  PC54505   3(2-2-5) วิชานวัตกรรม  เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา 
Innovation, Technology and Information in Educationสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา
 
คณะครุศาสตร์   มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
ภาคเรียน1/2555
 _________________________________________________________________
คำอธิบายรายวิชา

ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา ที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้  การวิเคราะห์  ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรม  เทคโนโลยี  และสารสนเทศ  แหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการ เรียนรู้  การสร้าง  การออกแบบ  การนำไปใช้  การประเมินผล  การปรับปรุงนวัตกรรม  สามารถเลือกใช้  ออกแบบ  สร้าง  ปรับปรุงนวัตกรรม  เทคโนโลยีและสารสนเทศสำหรับการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาที่จะรับผิดชอบสอนในอนาคตได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับระดับการศึกษา  ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี  สามารถแสวงหาแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย  และเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน

วัตถุประสงค์

    เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาบทเรียนจบตามหลักสูตรแล้วจะมีพฤติกรรมหรือความสามารถดังนี้
    1.
อธิบายความหมายของนวัตกรรม  เทคโนโลยี  และสารสนเทศได้
    2.
ยกตัวอย่างนวัตกรรม  เทคโนโลยี และสารสนเทศที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้
    3.
ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของนวัตกรรม  เทคโนโลยี  และสารสนเทศได้
    4.
บอกถึงปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรม  เทคโนโลยี  และสารสนเทศได้
    5.
บอกความหมายและประเภทแหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ได้
    6.
อธิบายพื้นฐานการออกแบบการเรียนการสอนได้
    7.
อธิบายรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้
    8.
ยกตัวอย่างรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้
    9.
อธิบายวิธีการเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมได้
    10.
เสนอแนวทางในการสร้าง  ปรับปรุงนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศสำหรับการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาได้อย่าง         น้อย 1 รายวิชา
    11.
สามารถแสวงหาแหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อสร้างนวัตกรรมได้
    12.
ยกตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศได้อย่างน้อย 3 เรื่อง

รูปแบบการเรียนการสอน

     เป็นการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning) การเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Online Learning) กับการเรียนการสอนแบบเผชิญหน้าในชั้นเรียนปกติ(Face-to-Face or Traditional Learning)

วิธีสอน

     ใช้วิธีสอนแบบเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative Learning)  และวิธีสอนแบบร่วมมือ ( Cooperative Learning)

เนื้อหาบทเรียน
หน่วยการเรียนที่ 1  ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศ
หน่วยการเรียนที่ 2  หลักการ แนวคิด  ทฤษฎีเกี่ยวนวัตกรรม  เทคโนโลยี และสารมสนเทศ
หน่วยการเรียนที่ 3  การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 4  จิตวิทยาการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 5  การออกแบบการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 6  นวัตกรรมการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 7  คอมพิวเตอร์
หน่วยการเรียนที่ 8  เครือข่ายอินเตอร์เน็ต
หน่วยการเรียนที่ 9  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 10 แนวโน้มในอนาคตเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาหรือการเรียนการสอน


ความรับผิดชอบ


ความรับผิดชอบ หมายถึง ภาระหรือพันธะผูกพันในการจะปฏิบัติหน้าที่การงานของผู้ร่วมงานให้เป็นไปตามเป้าหมายขององค์การ
เนื่องจากบุคคลต้องอยู่ร่วมกันทำงานในองค์การ จำเป็นต้องปรับลักษณะนิสัย เจตคติของบุคคลเพื่อช่วยเป็นเครื่องผลักดันให้ปฏิบัติงานตามระเบียบรู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น ปฏิบัติงานในหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบและมีความซื่อสัตย์สุจริต คนที่มีความรับผิดชอบ จะทำให้การปฏิบัติงานไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ และช่วยให้การทำงานร่วมกันเป็นไปด้วยความราบรื่น ความรับผิดชอบจึงเป็นภาระผูกพันที่ผู้นำต้องสร้างขึ้นเพื่อให้องค์การสามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างดี

ถ้าในองค์การใดมีบุคคลที่มีความรับผิดชอบ จะทำให้เกิดผลดีต่อองค์การดังนี้คือ

1.องค์การจะได้รับความเชื่อถือและไว้วางใจจากผู้ร่วมงานและผู้อื่น
2.การปฏิบัติงานจะพบความสำเร็จทันเวลาและทันต่อเหตุการณ์ ภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
3.ทำให้เกิดความเชื่อถือในตนเอง เพราะปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเรียบร้อย
4.องค์การเกิดความมั่นคงเป็นที่ยอมรับนับถือจากผู้อื่น
5.องค์การประสบความสำเร็จสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นปึกแผ่นและมั่นคง
6.สามารถปฏิบัติงานได้อย่างราบรื่นทุกคนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
ความซื่อสัตย์

การที่ประเทศไทยจะพัฒนาต่อไปข้างหน้าอย่างมีความสงบสุข คนในชาติจำเป็นต้องยึดถือธรรมเนียมประเพณี คุณธรรมจริยธรรม และประการสำคัญคือ หลักกฎหมาย โดยเฉพาะกฎหมายสูงสุดอย่างรัฐธรรมนูญตามระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงจะได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีนิติรัฐ 
แนวความคิดเรื่องนิติรัฐนี้ ได้ก่อให้เกิดการปกครองโดยหลักนิติธรรม คือ การปกครองโดยกฎหมาย ซึ่งจะต้องมีการออกกฎหมายที่เป็นธรรม โดยเอื้ออำนวยต่อความเสมอภาคและเสรีภาพของบุคคล จึงอาจกล่าวได้ว่าหลักนิติธรรมเป็นรากแก้วของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ผู้ที่มีส่วนผลักดันให้หลักนิติธรรมดำเนินไปตามครรลอง เห็นจะเป็นประชาชนกว่า ๖๐ ล้านคนที่จะต้องเคารพกติการักษากฎหมายที่ใช้ร่วมกันในสังคม หากกรณีที่บุคคลหนึ่งบุคคลใดกระทำความผิดหรือละเมิดกฎหมาย จะต้องมีผู้บังคับใช้กฎหมายของรัฐเข้ามาควบคุมจัดการ แต่หากเห็นว่าบุคคลนั้นไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือทำให้บุคคลอื่นได้รับความเสียหายจากการกระทำดังกล่าว จำต้องมีผู้ที่ตัดสินหรือให้ความยุติธรรมในกรณีนั้น ซึ่งได้แก่ ศาลยุติธรรม 
องค์กรอิสระที่ขึ้นชื่อว่า ศาลยุติธรรม ย่อมบ่งบอกถึงภารกิจหลักของศาลที่ต้องคงไว้ซึ่งความยุติธรรม โดยจะยุติข้อพิพาทต่างๆ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคมนั่นเอง
แต่ความยุติธรรมที่ว่านี้ จะเที่ยงตรงดำรงอยู่เป็นประโยชน์แก่สาธารณะหรือบุคคลที่กระทำในสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสม ก็ต่อเมื่อผู้พยุงความยุติธรรมมีความซื่อสัตย์สุจริตในการปฏิบัติหน้าที่อย่างแน่วแน่
ความซื่อสัตย์สุจริต หมายถึง การประพฤติดีและจริงใจ ไม่คดโกง ไม่หลอกลวง ส่วนความยุติธรรม หมายถึง ความเสมอภาคในทุกคน ไม่มีอคติ ฉะนั้น ทั้งความซื่อสัตย์สุจริต และความยุติธรรมจึงเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันอย่างมิอาจแยกจากกันได้
กล่าวคือ หากผู้ปฏิบัติหน้าที่พยุงความยุติธรรมอย่างผู้พิพากษาแห่งศาลยุติธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตแล้วก็ย่อมนำมาซึ่งความยุติธรรมอันเป็นคุณลักษณะที่สังคมไทยปรารถนาโดยปริยาย
อย่างไรก็ตาม ประชาชนได้มอบหมายให้ผู้พยุงความยุติธรรมทำหน้าที่ให้ความเป็นธรรมที่นำไปสู่ข้อยุติอย่างดีที่สุด มิใช่จำเพาะเจาะจงว่าเป็นประชาชนผู้ใดผู้หนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่มีอำนาจบารมี หรือมีฐานะทางสังคม ณ ขณะนั้น แต่หมายรวมถึงประชาชนทุกคนทุกชนชั้น ซึ่งมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกันตามรัฐธรรมนูญ
เพราะทุกวันนี้ เงิน อำนาจ และผลประโยชน์ เข้ามามีอิทธิพลอย่างสูงต่อบทบาทการทำงานของข้าราชการ และกลายเป็นแรงกระเพื่อมในวงการกฎหมายไทยด้วย จนทำให้ผู้พยุงความยุติธรรมทั้งหลายอาจวอกแวก หรือโลภหลงไปกับสิ่งยั่วยุเหล่านั้น จึงบังเกิดความอยุติธรรมขึ้น ซึ่งจะค่อยๆ กัดกร่อนบ่อนทำลายประเทศไปทีละน้อย นับเป็นภัยร้ายแรงต่อระบอบประชาธิปไตยของประเทศอย่างใหญ่หลวง ดังนั้น ผู้ที่ทำหน้าที่ดังกล่าวจำเป็นต้องยับยั้งชั่งใจของตนให้สำเร็จ
ดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะผู้พิพากษาประจำศาล สำนักงานศาลยุติธรรม จำนวน ๑๐๑ คน ที่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายสัตย์ปฏิญาณตนก่อนเข้ารับหน้าที่ เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๓ ณ โรงพยาบาลศิริราช ความตอนหนึ่งว่า
“สำคัญมากที่ท่านได้มาปฏิญาณตนว่าจะทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เข้มแข็ง ถ้ารักษาความซื่อสัตย์สุจริตนี้ไว้ตลอดเวลาที่ท่านปฏิบัติหน้าที่ตลอดชีวิต แสดงว่ามีคนที่อุ้มชูความเรียบร้อยของประเทศจำนวนหนึ่ง ขอให้ท่านได้รักษาความตั้งใจของหน้าที่ได้ตามที่ได้มีคำปฏิญาณตลอดเวลา เป็นตัวอย่างคนของประเทศให้มีกำลังใจที่จะปฏิบัติงานอย่างซื่อสัตย์สุจริต
ดังที่ท่านได้ปฏิญาณ” 
จากพระราชดำรัสข้างต้น สะท้อนให้เห็นว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใส่พระราชหฤทัยต่อความซื่อสัตย์สุจริตเป็นอย่างมาก เพื่อทรงหวังให้บ้านเมืองมีความสงบเรียบร้อยด้วยความยุติธรรมและพสกนิกรของพระองค์มีความผาสุกอย่างยั่งยืนเสมอภาคกันด้วยเหตุนี้ การปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษาจึงถือเป็นภารกิจที่สำคัญยิ่งสำหรับประชาชน หากปฏิบัติหน้าที่ด้วยความตั้งใจดี และเคร่งครัดแล้ว การปกครองโดยกฎหมายของประเทศก็จะดำเนินต่อไปอย่างเข้มแข็งมั่นคงด้วย นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างเปี่ยมล้นต่อคณะผู้พิพากษา และศาลยุติธรรม ที่มีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเตือนสติในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตเสมอมา
ไม่เพียงแต่ผู้พยุงความยุติธรรมที่จะนำคุณธรรมข้อนี้ไปใช้ในหน้าที่การงานเท่านั้น หากแต่ข้าราชการทุกหมู่เหล่า รวมทั้งประชาชนคนไทยทุกคนสามารถยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริตต่อการทำหน้าที่ของตนได้เช่นกัน โดยมุ่งเน้นประโยชน์และความถูกต้องของส่วนรวมเป็นสำคัญ ประเทศไทยก็จะเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีความเจริญก้าวหน้า และคนในชาติมีความสงบสุขเพราะได้ยกระดับคุณธรรมในจิตใจให้สูงขึ้นตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา